ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หรือ 1 ใน 4 ของคนไทยจะเป็นผู้สูงอายุ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่สามารถออกจากบ้านทำกิจกรรมได้ตามปกติ และมีความเสี่ยง ในการเกิดภาวะซึมเศร้าได้
รายละเอียดโครงการ
(Development of Invention for Mental Health and Executive Functions for the elderly in Thailand)
ที่มาและความสำคัญ
อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของผู้สูงอายุ คือ ภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นได้จากสาเหตุทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการทำงานของสมองในด้านการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด
ซึ่งในปัจจุบันพบปัญหาการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นการทำงานแบบแยกส่วน ขาดการบูรณาการ และจากการติดตามประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 พบว่า ยังบรรลุผลตามตัวชี้วัดและเป้าหมายเพียงบางส่วน
การส่งเสริมภาวะทางสุขภาพจิตและทักษะทางสมองของโครงการนี้มีความสำคัญ เพราะช่วยลดภาระด้านเศรษฐกิจของภาครัฐ เพิ่มศักยภาพของชุมชน เพราะผู้สูงอายุจะมีทักษะในการดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งในโครงการนี้ยังให้ความสำคัญกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพราะเป็นบุคคลสำคัญ ที่มีความใกล้ชิดและมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ โดยการมุ่งเน้นให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เกิดความเข้าใจและมีทักษะในการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ในด้านสุขภาพจิตและทักษะทางสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ