คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร สาระ ความรู้ ตลอดจนความเคลื่อนไหวในการขับเคลื่อนโครงการวิจัย เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะให้รับรู้ รับทราบข้อมูล ด้วยความมุ่งหวังจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยในด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตและทักษะทางสมองสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย
การพัฒนานวัตกรรม
ส่งเสริม
สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย
ระบบคัดกรองและพัฒนาบุคลากร
ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีระบบคัดกรองและพัฒนากลุ่มผู้ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีอาการ MCI ที่ดำเนินการ โดยกลไกในชุมชน
ส่งเสริมทักษะทางสมอง (EF)
ชุมชนมีคู่มือการส่งเสริมทักษะทางสมอง (EF) สร้างจากการใช้ประเพณี วัฒนธรรมของชุมชน
คู่มือส่งเสริมสุขภาพจิต
ชุมชนมีคู่มือการส่งเสริมสุขภาพจิต พัฒนาจากแนวคิด Psychological First Aid และMental Health First Aid
ข่าวสาร สาระ ความรู้ ความเคลื่อนไหวของเรา
ที่มาและความสำคัญของโครงการ
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตและทักษะทางสมองสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย
ในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หรือ 1 ใน 4 ของคนไทยจะเป็นผู้สูงอายุ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่สามารถออกจากบ้านทำกิจกรรมได้ตามปกติ และมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของผู้สูงอายุ คือ ภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นได้จากสาเหตุทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการทำงานของสมองในด้านการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ซึ่งในปัจจุบันพบปัญหา…
วัตถุประสงค์โครงการ
ส่งเสริมความเข้าใจและทักษะ
ส่งเสริมความเข้าใจทักษะการให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต และทักษะการพัฒนาทักษะทางสมองให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่เป็นอาสาสมัคร
พัฒนานวัตกรรม
พัฒนานวัตกรรมทางการส่งเสริมสุขภาพจิต และทักษะทางสมอง
พัฒนากลไกชุมชน
พัฒนากลไกของชุมชน เพื่อการใช้นวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิต และทักษะทางสมอง
การดำเนินงาน
โครงการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตและทักษะทางสมอง สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย มีขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการดังจำแนกได้ตามวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อดังต่อไปนี้
- ทำความเข้าใจกับลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน เกี่ยวกับความเชื่อวัฒนธรรม ลักษณะของความเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตและความสุข และลักษณะของทักษะทางสมอง (EF)
- พัฒนาแบบการให้ความช่วยเหลือปฐมภูมิด้านสุขภาพจิต และด้านทักษะทางสมอง (EF) โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายผู้รับผิดชอบในพื้นที่
- ทดลองใช้ใน 1 ชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายผู้รับผิดชอบในพื้นที่
- การเผยแพร่ผลการวิจัยผ่านเว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์
- สังเคราะห์ผลการทดลองใช้ต้นแบบนวัตกรรม
- เลือกรูปแบบที่ประสบความสำเร็จ และสร้างคู่มือการใช้
- ขยายผลและนำไปใช้ในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง
อีก 29 พื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายผู้รับผิดชอบในพื้นที่ - การเผยแพร่ผลการวิจัยผ่านเว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์
- ประเมินผลการใช้นวัตกรรมใน 30 ชุมชน
- สรุปบทเรียน และเผยแพร่ผลงานเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อื่น
- พัฒนาคู่มือการทำงานของภาคีเครือข่ายในชุมชน
- การเผยแพร่ผลการวิจัยผ่านเว็บไซต์และสื่อ